ประวัติ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เริ่มโครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2515 โดยได้สังกัดอยู่ในคณะศึกษาศาสตร์ เปิดทำการสอน 5 ภาควิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ สถิติ เคมี ฟิสิกส์และชีววิทยา ต่อมาในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2517 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้มีการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ จึงถือเป็น วันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้นมา ซึ่งได้มีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรต่างๆ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตหลักสูตร 4 ปี รวมทั้งสิ้น 16 สาขาวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ สถิติ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีวัสดุ เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการเกษตร การวิจัยดำเนินงาน และเทคโนโลยีสารสนเทศ ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต หลักสูตรภาคพิเศษ เปิดสอน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชารังสีเทคนิค และสาขาวิชาแพทย์แผนไทย นอกจากนี้คณะวิทยาศาสตร์ยังได้เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต 5 สาขาวิชาได้แก่ เคมีประยุกต์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเคมีประยุกต์และชีววิทยา
ที่อยู่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำเเหง
เเขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
web site : www.sci.ru.ac.th
e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
facebook : คณะวิทย์ฯ ม.ราม
เบอร์โทรศัพท์ : 02-3108380
คณบดี รศ.ดร.วรรณา มุสิก |
|
รองคณบดี | |
รองคณบดีฝ่ายบริหาร |
ผศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน รองคณบดีฝ่ายวิชาการเเละวิจัย |
ผศ.ดร.จุฑารัตน์ วรประทีป รองคณบดีฝ่ายนโยบายเเละแผน |
อ.ดร.โกวิทย์ น้อยโคตร รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา |
อาจารย์วรวรรณ ตันติวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายสวัสดิการ |
|
หัวหน้าภาควิชา | |
![]() |
อาจารย์มาริสา เเก้วสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาสถิติ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
|
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ/ผู้ประสานงานสาขาวิชา | |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
หัวหน้างาน | |
|
นางสาวฐิติรัตน์ จันทน์สุคนธ์ รักษาราชการเเทน หัวหน้างานนโยบายเเละแผน |
- วิสัยทัศน์
- คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาพันธกิจสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการและการวิจัย โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากร เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ค่านิยมองค์การ
- ความเป็นเลิศในการให้บริการ โดยสร้างจิตบริการที่ประทับใจที่สุดบนพื้นฐานของการจงรักภักดีต่อองค์กร เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
- ปรัชญา
- วิทยาศาสตร์เป็นฐานในการสร้างภูมิปัญญาที่เป็นเลิศ
- ปณิธาน
- มุ่งเป็นเลิศด้านวิชาการ การวิจัย นำความคิดอย่างวิทยาศาสตร์สู่สังคม และผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมไทยและสังคมโลก
- อัตลักษณ์
- ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม
- เอกลักษณ์
- การเป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา
- พันธกิจ
- คณะวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนราชการภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นสถานศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชาที่ผู้ศึกษาสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องเข้าชั้นเรียนที่มหาวิทยาลัยจัดให้หรือจะมาเข้าชั้นเรียนก็มีชั้นเรียนให้ ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาเพื่อส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง สอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จัดแบ่งส่วนราชการเพื่อการบริหารเป็น คณะ สำนัก สถาบัน ศูนย์ และที่เทียบเท่า โดยดำเนินการตามพันธกิจ ดังนี้
- ๑) สร้างและกระจายโอกาส ความเสมอภาคและความเป็นธรรมทางการศึกษาหลากหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ประชาชนในลักษณะการศึกษาเพื่อปวงชน ให้มีความรู้คู่คุณธรรม
- ๒) ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ครอบคลุมด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริหารจัดการภายในคณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ยอมรับในภูมิภาคอาเซียน
- ๓) พัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและการกระจายโอกาสทางการศึกษา
- ๔) สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างทุนทางปัญญาของชาติ
๕) พัฒนาระบบการบริหารจัดการตามแนวทางหลักธรรมาภิบาลของการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
- คำนิยามของวิสัยทัศน์คณะวิทยาศาสตร์
- การเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมายถึง การเรียน การสอน ของคณะวิทยาศาสตร์ ตามมาตรฐานหลักสูตร TQF อันประกอบด้วย หลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
- พันธกิจ หมายถึง การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการบริหารจัดการ
- ความเป็นเลิศด้านวิชาการ หมายถึง การพิจารณาให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้
- ๑) ความมีเสรีภาพทางวิชาการ
- ๒) ความมีอิสระและความคล่องตัวในการบริหาร
- ๓) ความยืดหยุ่นต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในด้านทิศทางและโครงสร้าง
- ๔) คุณภาพและความสามารถของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา-
- ความเป็นเลิศด้านวิจัย หมายถึง การพิจารณาให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้
- ๑) ความมีเสรีภาพและคล่องตัวทางการวิจัย
๒) คุณภาพและความสามารถของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา
การมีส่วนร่วมของบุคลากร หมายถึง ความมีเสรีภาพ ความร่วมใจและร่วมมือเพื่อสร้างสรรค์งานด้านการเรียน การสอน การวิจัย การบริหาร ต่อนักศึกษาและสังคมไทย
- หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย
- ๑) ความพอดี พอประมาณ
- ๒) ความมีเหตุผล
- ๓) การมีภูมิคุ้มกัน (โดยดำเนินการเชื่อมโยงความรู้และคุณธรรม)
ทำเนียบคณะบดี ใส่รูป พ.ศ. จากอดีตถึงปัจจุบัน
- สถานที่ตั้ง อาคาร เเละสถานที่
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำเเหง มีอาคารอยู่ในความรับผิดชอบ 5 อาคาร ดังนี้
1. อาคารคณะวิทยาศาสตร์ (SCO) อาคาร 6 ชั้น มีพื้นที่โดยประมาณ 11,616 ตรม. ประกอบด้วย
ชั้นที่ 1 ที่ทำการภาควิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อม เเละห้องพักอาจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
ชั้นที่ 2 ที่ทำการภาควิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาเเพทย์เเผนไทย เเละห้องพักอาจารย์
ชั้นที่ 3-4 ห้องพักอาจารย์ เเละห้องปฏิบัติการภาควิชาชีววิทยา
ชั้นที่ 5-6 ห้องปฏิบัติการภาควิชาเคมี เเละห้องพักอาจารย์
2. อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (SCL) อาคาร 10 ชั้น มีพื้นที่โดยประมาณ 25,266 ตรม.
ชั้นที่ 1 ที่ทำการคณบดี เเละสำนักงานเลขานุการคณะวิทยาศาสตร์
ชั้นที่ 2 ที่ทำการภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เเละศูนย์คอมพิวเตอร์คณะวิทยาศาสตร์
ชั้นที่ 3 ห้องปฏิบัติการ เเละห้องพักอาจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์เเละภาควิชาสถิติ
ชั้นที่ 4 ที่ทำการภาควิชาชีววิทยา เเละห้องปฏิบัติการภาควิชาชีววิทยา
ชั้นที่ 5 ห้องพักอาจารย์ เเละห้องปฏิบัติการภาควิชาชีววิทยา
ชั้นที่ 6-7 ห้องพักอาจารย์ เเละห้องปฏิบัติการภาคฟิสิกส์
ชั้นที่ 8-9 ห้องพักอาจารย์ เเละห้องปฏิบัติการภาควิชาเคมี
ชั้นที่ 10 ที่ทำการภาควิชาเคมี ห้องปฏิบัติการภาควิชาเคมีเเละห้องพักอาจารย์
ชั้นดาดฟ้า ห้องวิจัย สังเกตการณ์ดาราศาสตร์
3. อาคารลายเสือไท (LTB) อาคาร 5 ชั้น (ใช้งานเฉพาะพื้นที่ชั้นที่ 5) มีพื้นที่ 2,100 ตรม.
ชั้นที่ 5 ห้องพักอาจารย์ เเละห้องปฏิบัติการปริญญาโท ปริญญาเอก สาขาเคมีประยุกต์
4. อาคารคีรีมาศ (KMB) อาคาร 5 ชั้น มีพื้นที่ 10,500 ตรม. ประกอบด้วย
ชั้นที่ 1 ห้องปฏิบัติการภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุ ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คลีนิกเเพทย์เเผนไทย ที่ทำการเเละห้องพัก อาจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
ชั้นที่ 2 ที่ทำการสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อม
ชั้นที่ 3 ที่ทำการสาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
ชั้นที่ 4 ที่ทำการภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร เเละห้องปฏิบัติการภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร
ชั้นที่ 5 ที่ทำการภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุ เเละห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวัสดุ
5. อาคารภาควิชาสถิติ (STB) 2 ชั้น มีพื้นที่ 728.55 ตรม. ประกอบด้วย
ชั้นที่ 1 ที่ทำการภาควิชาสถิติ เเละห้องปฏิบัติการภาควิชาสถิติ
ชั้นที่ 2 ห้องพักอาจารย์ เเละห้องปฏิบัติการภาควิชาสถิติ
- รวมทั้ง 5 อาคาร ของคณะวิทยาศาตร์ มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 50,210.55 ตรม.
- หลักสูตรที่คณะเปิดสอน
- ระดับปริญญาตรี เปิดสอนหลักสูตรต่างๆ 2 ประเภท คือ หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ จำนวน 14 หลักสูตร เเละ หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (ภาคพิเศษ) จำนวน 1 หลักสูตร ดังนี้
- 1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี เปิดสอน 14 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics)
- สาขาวิชาสถิติศาสตร์ (Statistics)
- สาขาวิชาเคมี (Chemistry)
- สาขาวิชาฟิสิกส์ (Physics)
- สาขาวิชาชีววิทยา (Biology)
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
- สาขาวิชาการวิจัยดำเนินงาน (Operations Research)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุ (Materials Technology)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (Food Technology)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์ (Electronics Technology)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อม (Environmental Technology)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
- 2.หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ภาคพิเศษ) หลักสูตรต่อเนื่อง 4 ปี เปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชารังสีเทคนิค
- สาขาวิชาเเพทย์เเผนไทย
- ระดับปริญญาโท เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต 5 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาเคมีประยุกต์
- สาขาวิชาชีววิทยา
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (ภาคพิเศษ)
- สาขาวิชาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (ภาคพิเศษ)
- ระดับปริญญาเอก เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต
- สาขาวิชาเคมีประยุกต์ ภาควิชาเคมี
- สาขาวิชาชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา